ชื่อคำว่า 杏林 มีประวัติความเป็นมาดังนี้ค่ะ ในช่วงยุคสมัยตำนานสามก๊ก มีแพทย์ท่านหนึ่งนามว่า ต่ง ฝง 董奉 ครั้งหนึ่งเมื่อผ่านเมือง จง หลี 钟离เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่ยากไร้ กำหนดการรักษาคนไข้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย.
แต่หลังจากผู้ป่วยหายป่วยจะต้องทำการปลูกต้นแอลมอนด์ที่เชิงเขาที่เขาพำนักอยู่ ผู้ป่วยหนัก ปลูกห้าต้น ผู้ป่วยเล็กน้อย ปลูกหนึ่งต้น เนื่องจากท่านเป็นแพทย์ผู้มีฝีมือ มีจรรยาแพทย์สูงส่ง ผู้ป่วยไม่ว่าใกล้หรือไกลล้วนแล้วมุ่งหน้ามาให้ท่านรักษา.
ภายในระยะเวลาไม่กี่ปียังผลให้มีต้นแอลมอนด์ นับหมื่นต้น กลายเป็นไร่แอลมอนด์ขนาดใหญ่ เมื่อแอลมอนด์ออกผลแล้ว ต่งฝง 董奉 ก็ประกาศว่า ผู้ใดที่จะมาขอซื้อแอลมอนด์ ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ ขอเพียง นำธัญพืช หนึ่งถังมาแลก แล้วก็เก็บแอลมอนด์ไปหนึ่งถัง ท่านได้นำธัญพืชที่มีผู้นำมาแลกไว้ ไปแจกจ่ายให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้.
หลังจากท่าน ต่งฝง 董奉 ได้เสียชีวิตไปแล้ว ตำนาน 杏林 ซิ่ง หลิน (ไร่แอลมอนด์) ก็ได้มีการเล่าขานสืบทอดต่อมา คำว่า 杏林 ซิ่ง หลิน (ไร่แอลมอนด์) ได้เป็นสัญลักษณ์ของจรรยาแพทย์อันสูงส่ง เป็นคำสรรพนามของทักษะการแพทย์ และ 杏林 ซิ่ง หลิน (ไร่แอลมอนด์) ก็เป็นแรงบันดาลใจของแพทย์ทั้งหลาย กระตุ้นเตือนให้ขยันหมั่นเพียรเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยทนทุกข์ทรมานของผู้ป่วย.
และเมื่อเทียบกับคำพ้องเสียง
ซิ่ง = ซิ่งฝู ที่แปลว่าความสุข 杏 = 幸
หลิน = หลินหลาย ที่แปลว่ามาถึง 林 = 临
เมื่อเทียบกับคำพ้องเสียง จะแปลว่า ความสุขที่มาถึง.
หมอภัทร
พจ.คณินญา ศีติสาร
Dr.Khaninya Seetisara (CM.D.)